วันนี้เราจะมาเจาะลึกทุกเรื่องราวของ Affiliate Program ในกลุ่มสินค้าที่เป็นบริการออนไลน์บน Cloud Coumputing โดยไม่ต้องติดตั้งซอฟต์แวร์ลงบนเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่ซอฟต์แวร์ถูกจัดเก็บอยู่บน Cloud สามารถเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา แล้วทำไม SaaS ถึงน่าสนใจและควรที่จะเลือกมาทำ Affiliate ด้วยเรามาเรียนรู้กันได้เลย
เลือกอ่านจากหัวข้อที่สนใจได้ที่ Table of Content
SaaS คืออะไร?
SaaS จะให้บริการในรูปแบบการขอใช้ซอฟต์แวร์หรือการสมัครสมาชิกรับบริการ โดยสามารถเลือกได้ว่าจะสมัครสมาชิกแบบรายเดือนหรือรายปี และสามารถยกเลิกสมาชิกได้ตลอดเวลา ดังนั้นการใช้ SaaS จะมีความยืดหยุ่นสูง และมีค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่าการเลือกใช้ซอฟต์แวร์แบบเดิมที่ต้องใช้เงินลงทุนในการติดตั้งในครั้งแรก
SaaS Software as a Service หมายถึงการให้บริการซอฟต์แวร์ผ่านทาง Cloud Computing โดยไม่ต้องติดตั้งซอฟต์แวร์ลงบนคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ ซอฟต์แวร์จะถูกเก็บบน Cloud Server และสามารถเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลาออนไลน์
Affiliate Marketing คืออะไร?
Affiliate Marketing อ่านว่า อะฟิล’ ลิเอท มาร์ค’คิททิง (แอฟฟิลิเอท มาร์เก็ตติ้ง) คือรูปแบบการทำการตลาด การโปรโมตสินค้าและบริการผ่านช่องทางของเรา ผ่านเว็บไซต์ แอพพลิเคชั่น สื่อสังคมออนไลน์ ในรูปแบบลิงค์ หรือ แบนเนอร์ โดยจะส่วนประกบหลักๆ 3 ส่วนคือ
1.Merchant, Brands, Owner เจ้าของสินค้าหรือบริการ
2.Publisher, Marketer ตัวแทนผู้นำสินค้าไปโปรโมท
3.Customer ลูกค้า ที่ซื้อสินค้า
สามารถอ่านข้อมูลแบบละเอียดเรื่อง Affiliate Marketing ได้ที่นี่
ตัวอย่างของ SaaS คืออะไร
SaaS หรือ Software as a Service คือรูปแบบการให้บริการซอฟต์แวร์ที่ผู้ใช้สามารถเข้าถึงและใช้งานผ่านอินเทอร์เน็ตได้ โดยไม่ต้องติดตั้งซอฟต์แวร์ลงบนเครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเอง ตัวอย่างของ SaaS ประกอบไปด้วย:
Google Workspace (เดิมคือ G Suite)
เครื่องมือสำหรับการทำงานร่วมกันออนไลน์ เช่น Gmail, Google Drive, Google Docs, Google Sheets, Google Slides, และ Google Calendar ซึ่งมีประโยชน์สำหรับการทำงานที่ต้องการความร่วมมือและการเข้าถึงข้อมูลจากที่ไหนก็ได้ที่มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
Microsoft 365
และนี่ก็ถือว่าเป็น SaaS ตัวแรกที่เราคุ้นเคยกันดี Microsoft 365 ชุดเครื่องมือทำงานออนไลน์ที่รวมถึง Word, Excel, PowerPoint, Outlook, และอื่น ๆ โดยมีคุณสมบัติการทำงานร่วมกันและการเข้าถึงไฟล์ผ่านอินเทอร์เน็ต เราเชื่อว่า หลยๆองค์กรยังคงใช้งานกันอย่างแพร่หลายแม้จะมีบริการที่คล้ายคลึงกันออกมาอยู่มากมาย
Zoom
ซูม หรือ Zoom เป็นแพลตฟอร์มการประชุมออนไลน์และการสื่อสารทางวิดีโอที่ให้บริการการประชุมระยะไกลและการสร้างห้องประชุมเสมือนจริงสำหรับการทำงานทีมหรือการสอนออนไลน์ ถือว่าเป็นพระเอกมากๆในช่วงที่เกิดวิกฤต โควิด-19 และเป็นการแจ้งเกิดและมีการสมัครใช้งานมากที่สุด
Slack
แพลตฟอร์มการสื่อสารทางธุรกิจที่ใช้สำหรับการแชท การส่งข้อความ การแลกเปลี่ยนเอกสาร และการทำงานร่วมกันของทีมงาน ในปัญจุบันกลุ่มบริษัทใหม่ๆมักเลือกใช้เพราะสะดวกคล่องตัวสูง
ยังมีโปรแกรมบริการในกลุ่ม SaaS อีกมากมาย เช่น Dropbox, HubSpot, Salesforce, Semrush,Adobe Creative Cloud, Zendesk, Shopify และอีกมากมาย
ข้อดีของ SaaS ต่อธุรกิจ
1.No Hardware
ลดการใช้ฮาร์ดแวร์หรือเครื่องมือ ลดขั้นตอนในการติดตั้งในทุกๆทาง
2.Flexible Operating system
ใช้ได้ทั้ง Windows และ Mac หมดปัญหาข้อจำกัดเรื่องประเภทของระบบปฎิบัติการ และยังง่ายต่อการใช้งานผ่านมือถือและแท็บเล็ต ขอแค่มีเครือข่ายอินเทอร์เน็ตก็ใช้านได้ทันที
3.Handle Maintenance and Updates
SaaS สามารถอัปเดตซอฟต์แวร์ตลอด แก้ไข ผ่านระบบกลาง โดยที่ผู้ใช้งานแบบเรา ไม่ต้องอัปเดตแยกเป็นรายเครื่อง เพราะ SaaS ที่เราใช้บริการจะมีการอัพเดตอยู่เสมอ และการจัดเก็บข้อมูลสะดวก นั่นเป็นเพราะข้อมูล Data ของเราจะถูกเก็บไว้ศูนย์กลางบนระบบออนไลน์
4.Cost-friendly
ค่าบริการใช้งานของ SaaS เป็นแบบ Subscription Model ซึ่งพูดง่ายๆคือ การจ่ายเป็นรายเดือน หรือรายปี อยากเลิกใช้เมื่อไหร่ก็ยกเลิกการเป็นสมาชิกได้ทันที ซึ่งหากเป็นซอฟต์แวร์แบบติดตั้งทั่วไป เราต้องทำการซื้อแบบถาวร และแน่นอนจ่ายในราคาเต็มรจำนวน
SaaS มี แอพ อะไรบ้าง?
SaaS มีบริการให้โหลดเป็นแอพในเกือบทุกๆบริการ บน Appstore , Play Store เพื่อความยืดหยุ่นในการใช้งาน ด้านล่างนี้คือรายละเอียดบางส่วนของ SaaS ที่ให้บริการในรูปแบบ แอพ
1. Slack (สแล็ก)
แอปพลิเคชันสำหรับการสื่อสารทีมที่มีโปรแกรมพาร์ทเนอร์ให้เข้าใจง่าย มีโปรแกรมความปลอดภัย และมีส่วนประสานงานกับแอปพลิเคชันอื่น ๆ
2. Zoom (ซูม)
แอปพลิเคชันการประชุมทางวิดีโอที่มีความชัดเจนและสะดวกสบาย ที่ช่วยให้การประชุมออนไลน์เป็นไปอย่างราบรื่น
3. Dropbox (ดร็อปบ็อกซ์)
บริการเก็บข้อมูลออนไลน์ที่ช่วยให้คุณเข้าถึงไฟล์และเอกสารจากอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้อย่างง่ายดาย
4. Shopify (ช็อปปิไฟ)
แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่ช่วยให้คุณสร้างร้านค้าออนไลน์และจัดการธุรกิจของคุณได้อย่างมืออาชีพ
5. HubSpot (ฮับสปอต)
บริการการตลาดออนไลน์แบบครบวงจรที่ช่วยให้คุณสร้างแคมเปญการตลาดและจัดการลูกค้าได้อย่างมืออาชีพ
6. ConvertKit (คอนเวิร์ตคิท)
เครื่องมือการตลาดอีเมล์ที่ช่วยให้คุณสร้างและส่งอีเมล์มืออาชีพได้โดยง่าย
7. GetResponse (เก็ทเรสปอนส์)
แพลตฟอร์มการตลาดอีเมล์และออโต้เมชันที่ช่วยให้คุณสร้างแคมเปญการตลาดและติดตามผลได้อย่างมืออาชีพ
8. SEMRush (เซ็มรัช)
แพลตฟอร์มการวิเคราะห์และการติดตาม SEO ที่ช่วยให้คุณเพิ่มประสิทธิภาพในการทำการตลาดออนไลน์ของคุณ
9. ClickFunnels (คลิกฟันเนล)
แพลตฟอร์มสร้างและจัดการกับลูกค้าในรูปแบบของไฟล์การขายที่มีระบบทำให้ง่าย
10. Kajabi (คาจาบิ)
แพลตฟอร์มสำหรับการสร้างและจำหน่ายคอร์สออนไลน์และสมาชิก
11. Sendinblue (เซนดินบลู)
แพลตฟอร์มการตลาดอีเมล์ที่ช่วยให้คุณสร้างและส่งอีเมล์ได้อย่างมืออาชีพ
12. Teachable (ทีเชบเบิล)
แพลตฟอร์มสำหรับการสร้างและจำหน่ายคอร์สออนไลน์และการเรียนออนไลน์
13. ActiveCampaign (แอคทีฟแคมเปญ)
แพลตฟอร์มการตลาดออนไลน์ที่ช่วยให้คุณสร้างแคมเปญการตลาดและติดตามผลได้อย่างมืออาชีพ
14. Mailchimp (เมลชิมป์)
บริการสร้างและส่งอีเมล์การตลาดออนไลน์ที่ง่ายต่อการใช้งาน
15. AWeber (อาเวเบอร์)
แพลตฟอร์มการตลาดอีเมล์ที่ช่วยให้คุณสร้างแคมเปญการตลาดออนไลน์ได้อย่างมืออาชีพ
16. Canva (แคนวา)
แพลตฟอร์มออนไลน์สำหรับการสร้างกราฟิกและออกแบบงานต่าง ๆ
17. Buffer (บัฟเฟอร์)
แพลตฟอร์มสำหรับการจัดการสื่อสังคมที่ช่วยให้คุณตั้งตารองที่จะโพสต์เนื้อหาออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
18. Hootsuite (ฮูตสวีท)
บริการจัดการสื่อสังคมออนไลน์ที่ช่วยให้คุณตั้งตารองและติดตามกิจกรรมของโซเชียลมีเดียได้อย่างมีประสิทธิภาพ
19. Constant Contact (คอนสแตนต์คอนแทค)
แพลตฟอร์มการตลาดออนไลน์ที่ช่วยให้คุณสร้างแคมเปญการตลาดออนไลน์ได้อย่างมืออาชีพ
20. Wix (วิกซ์)
แพลตฟอร์มสร้างเว็บไซต์ออนไลน์ที่ช่วยให้คุณสร้างเว็บไซต์และร้านค้าออนไลน์ได้อย่างง่ายดาย
ยังมี แอพพลิเคชั่น อีกเยอะในบริการของ Appstore และ Play ในกลุ่ม SaaS
Affiliate Program กับ SaaS ดีอย่างไร
การเติบโตของการใช้งาน SaaS มีปริมาณเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ พร้อมไปกับเทรนด์ รูปแบบไลฟ์สไตล์การทำงานที่ไหนก็ได้ จะบ้าน ร้านกาแฟ หรือ Hybrid Workplace ไลฟ์สไตล์การทำงานใหม่ โดยรวมองค์กรต่างๆจะใช้บริการ SaaS ในทีมและแผนก รวมทั้งเหล่า Freelance ที่จำเป็นต้องใช้บริการมากขึ้น
Market Size ขนาดของตลาด SaaS เติบโตขึ้น เม็ดเงินงบประมาณไหลเข้ามา เพื่อซื้อบริการของ SaaS รายเดือน รายปี ผู้ใช้ได้ประโยชน์ ผู้ให้บริการมีรายได้ องค์กรได้ต่อยอด นักพัฒนาและดูแล ผู้ใช้งานต่างก็ วินๆ ทุกฝ่าย
สถิติสำคัญเกี่ยวกับ SaaS
ตัวเลขรายได้ในตลาด SaaS มีมูลค่าถึง 258.6 พันล้านเหรียญในปี 2023 และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 282.2 พันล้านเหรียญในปี 2024 (Statista Market Insights, 2023).
ข้อมูลในปี 2024 , SaaS ที่ใหญ่ที่สุดบนตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐฯ คือ Adobe ด้วยมูลค่าตลาด 276.4 พันล้านเหรียญ (Mike Sonders, 2024).
ประสิทธิภาพของบริษัทและธุรกิจ ที่นำ SaaS มาใช้งาน เพิ่มประสิทธิภาพมากถึง 30% เมื่อเปรียบเทียบกับประเภทอื่นในปี 2022 (Better Cloud, 2023).
จากตรงนี้เราจะเห็นว่าการเติบโตของตลาด SaaS พิ่มมากขึ้น และเป็นเรื่องที่น่าสนใจมากกับการเข้าร่วท Affiliate Programs ในสินค้ากลุ่ม SaaS
ทำไมคุณต้องเลือก SaaS Affiliate
Affiliate Program มีตัวเลือกหลากหลายหมวดหมู่ เช่น หมวดท่องเที่ยว, สินค้าทั่วไป, อุปโภค บริโภค แต่ความแตกต่างของ SaaS Affiliate Program คือเป็นสินค้าประเภทบริการ เป็น เซอร์วิส ที่มีความต้องการใช้งานเพิ่มขึ้นทุกๆวัน
SaaS Affiliate Program Advantage Points และนี่คือเหตุผลที่คุณควรเข้าร่วมและทำ
1. Recurring commissions ผลิตภัณฑ์ SaaS โดยส่วนใหญ่มักจะเรียกค่าบริการเป็นการสมัครสมาชิก รายเดือนรายปี ซึ่งคุณสามารถรับค่าคอมมิชชันที่มีโอกาสเกิดซ้ำได้ตลอดระยะเวลาที่ลูกค้ายังคงเป็นสมาชิกอยู่ ทำให้สามารถได้รับรายได้ที่มั่นคงและยาวนาน
2.High commissions ผลิตภัณฑ์ SaaS ส่วนใหญ่ให้ค่าคอมมิชั่นสูงกว่าสทางกายินค้าทั่วๆไป เพราะต้นทุนแตกต่างจากสินค้าทั่วๆไป คุณสามารถรับค่าคอมมิชชันสูงกว่าในแต่ละการขาย
3.High customer Retention ข้อได้เปรียบของ SaaS คือ บริการที่ลูกค้าซื้อไปแล้วมีอัตราการรักษาลูกค้าสูงเนื่องจากลูกค้ามักจะยังคงใช้บริการของ SaaS แบบต่อเนื่อง นี่หมายความว่าคุณสามารถรับค่าคอมมิชชันจากลูกค้าเดิมในระยะเวลาที่ยาวนานมากขึ้น
4.Easy to promote สำหรับผลิตภัณฑ์บริการกลุ่ม SaaS มักเป็นบริการรูปแบบดิจิทัล ซึ่งเสามารถโฆษณาเราสามารถโปรโมทผ่านช่องทางออนไลน์ต่างๆ เช่น โซเชียลมีเดีย อีเมล และการตลาดออนไลน์ ซึ่งทำให้ง่ายต่อการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายและโปรโมทผลิตภัณฑ์ได้
5.Low overhead costs ต้นทุนที่ต่ำ เป็นเอกสิทธิ์ คุณไม่ต้องกังวลเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การสนับสนุนลูกค้า หรือการขนส่ง นี่หมายความว่าคุณสามารถโฟกัสในการโฆษณาผลิตภัณฑ์ SaaS และรับค่าคอมมิชชันโดยไม่มีต้นทุนเพิ่มเติมเลย
6.High Demand ความต้องการสูง เพราะ SaaS คือ Soaftware As a Service ที่มีความต้องการมากขึ้น และอยู่ในความต้องการสูงเพราะพวก Saas ช่วยแก้ปัญหาได้จริงสำหรับธุรกิจ และ บุคคลทั่วไป ยังมีตลาดใหญ่สำหรับผลิตภัณฑ์ SaaS และ มีศักยภาพในการขายและรับค่าคอมมิชชัน อย่างต่อเนื่อง
ใครเหมาะกับ SaaS Affiliate Program
โปรแกรมตัวแทนนายหน้าหรือโปรแกรมพันธมิตร SaaS มีความเหมาะสมกับกลุ่มคนหลายๆแบบ ขึ้นอยู่กับความสนใจ ความเชี่ยวชาญ ประเภทของบุคคลหรือองค์กรที่อาจพบว่าโปรแกรมตัวแทน SaaS เป็นที่เหมาะนำไปโปรโมทเพื่อสร้างรายได้มีประมาณนี้นะครับ
Expert Bloggers in Technology and Business
บล็อกเกอร์สายเทคโนโลยี ที่ทำช่อง YouTube หรือจะทำเนื้อหาที่เน้นรีวิวซอฟต์แวร์ ถ้าเป็นบล็อกเกอร์ที่มีผู้ติดตามเยอะๆ และทำสื่อออนไลน์ ที่มีผู้ติดตามที่ชอบเทคโนโลยีสามารถสามารถจะได้รับประโยชน์จาก Affiliate SaaS เพวกป็นพิเศษครับ บล็อกเกอร์สายนี้สามารถโฆษณาโซลูชันซอฟต์แวร์การใช้งาน รีวิว ให้กับผู้ติดตามทราบข้อมูลที่น่าสนใจ เรียกว่าตรงประเด็น และสามารถรับค่าคอมมิชชั่นจากการแนะนำได้ครับ
แหล่งที่มาของข้อมูลสถิติ SaaS Information Source Statistic of SaaS